เมนู

ฝ่ายสมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า กลฺโลสิ ผู้เป็น
เจ้าวิสัชนานี้สมควรแล้ว
อุปสัมปันนปัญหา คำรบ 5 จบเท่านี้

อัสสุปัญหา ที่ 6


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาค-
เสน
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าพระนาคเสนผู้ปรีชา บุคคลมีน้ำตาตกด้วยไห้รักบิดามารดาอัน
กระทำกาลกิริยาตาย กับบุรุษที่ฝักฝ่ายในธรรมน้ำตาไหลด้วยใจเย็นยินดีนี้ ข้างไหนจะจัดว่า
เป็นเภสัชอันเลิศ
พระนาคเสนผู้ประเสริฐถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร
บุคคลปริเทวนาการร่ำไห้ ด้วยราคะโทสะโมหะมีในสันดานอันเผานั้น เรียกว่าน้ำตาร้อน ประการ
หนึ่ง บุคคลมีจิตสโมสสวนาการฟังพระสัทธรรมเทศนานั้นมีน้ำตาไหลประกอบไปด้วยใจเย็น
ิยินดีดังนี้ นี่แหละเรียกว่าน้ำตาเย็น ก็น้ำตาเย็นนี้แหละจัดว่าเป็นเภสัชอันเลิศ เหตุจะให้ธรรม
อันประเสริฐเกิดเสวยสุขไปในอนาคตกาล พระราชสมภารพึงเข้าพระทัยด้วยประการดังนี้
ฝ่ายพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า กลฺโลสิ พระผู้เป็นเจ้า
กล่าวนี้สมควรแล้ว
อัสสุปัญหา คำรบ 6 จบเท่านี้

รสปฏิสังเวทีปัญหา ที่ 7


ราชา

สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต
นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา อันว่าบุคคลสองจำพวก บุคคลผู้หนึ่งเป็นวีตราคะ บุคคล
ผู้หนึ่งเป็นอวีตราคะ คนสองจำพวกนี้มีเหตุต่าง ๆ กัน ไม่เหมือนกันหรือ พระผู้เป็นเจ้า พระผู้
เป็นเจ้าจงวิสัชนาไปก่อน
พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐใน
สิริมโหศวรรย์ บุคคลที่เป็นอวีตราคะ มีราคะมิได้ปราศจากสันดานนั้นเป็นอัชโฌสิโต บุคคลที่
เป็นวีตราตะ มีราคะอันปราศจากสันดานนั้นเป็นอนัชโฌสิโต
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสถามว่า ที่เป็นอัชโฌสิโตอย่างไร ที่เป็นอนัชโฌสิโตอย่างไร
นิมนต์วิสัชนาไปก่อน
พระนาคเสนก็ถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชภารผู้ผ่านพิภพ
มไหศวรรย์ ที่เป็นอัชโฌสิโตนั้น อตฺถิโก ยังมีประโยชน์อยู่ ที่เป็นอนัชโฌสิโตนั้น มิได้มี
ประโยชน์ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โยมเข้า
ใจแล้วที่ท่านมีราคะขาดจากสันดานนั้นโสดาไม่มีประโยชน์ยินดี ที่ท่านยังมีราคะมิได้ขาดนั้น
โสดมีประโยชน์ยินดี ก็โยมเห็นว่าคนสองจำพวกนี้ บริโภคโภชนาหารขนมของกินอยู่เหมือนกัน
ที่ยินดีก็ฉันที่ไม่ยินดีก็ฉัน เหตุซิต่างกัน ไฉนจึงเป็นเช่นนี้ นิมนต์วิสัชนาให้ดีก่อน
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร คนสองจำพวก
บริโภคอาหารเหมือนกันแล แต่ทว่าอารมณ์ต่างกัน ที่เป็นอวีตราคะนั้น มีความกำหนัดยินดีใน
รสอันอร่อยอยากกันที่รสอันดี ที่ท่านไม่มีราคะนั้น มีอารมณ์มิได้ผูกพันในรสว่าดีและชั่ว ฉัน
พอประทับตัวที่จะได้รักษาพรหมจรรย์ ขอถวายพระพร
ครั้งนั้น สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร ได้ทรงฟังก็โสมนัสตรัสว่า กลฺโลสิ พระผู้
เป็นเจ้าวิสัชนานี้สมควร
รสปฏิสังเวทีปัญหา คำรบ 7 จบเท่านี้